ยาปฏิชีวนะ กลุ่มแรกเป็นยาต้านเชื้อแบคทีเรีย ได้แก่

ก. ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ซึ่งสังเคราะห์ได้จากเชื้อรา แต่ในยุคปัจจุบันได้กำ เนิดยาต้านเชื้อโรคโดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรีย รุ่นลูกหลานออกมามากมายจนนับไม่ถ้วน ดังขอยกตัวอย่างกลุ่มยาปฏิชีวนะที่นิยมใช้ในบ้านเรา ดังนี้

เพนิซิลลิน เป็นยาใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียได้ในหลายเนื้อเยื่อ/อวัยวะ เช่น คออักเสบ เป็นต้น เป็นกลุ่มยาที่ไม่ทนกับกรดในกระเพาะอาหาร จึงต้องกินยาก่อนอาหารและถูกขับออกจากร่างกายโดยผ่านไต แต่ยาบางตัวในกลุ่มนี้ก็ถูกขับออกโดยผ่านกระบวนการที่ตับก่อน ตัวอย่าง ยาในกลุ่มเพนิซิลลิน เช่น อะมอกซิซิลลิน (Amoxicillin) แอมปิซิลลิน (Ampicillin) คาร์เบนิซิลลิน (Carbenicillin) คลอกซาซิลลิน (Cloxacillin) และ ฟลูคลอซาซิลลิน (Flucloxacillin)

ข. อะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycosides) เป็นยาปฏิชีวนะใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียที่กระดูก ข้อ การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ การติดเชื้อหลังผ่าตัด ยากลุ่มนี้ไม่ค่อยดูดซึมทางลำไส้ ต้องใช้วิธีฉีดเข้ากล้ามหรือฉีดเข้าทางหลอดเลือด มีความเป็นพิษต่อไตและหูชั้นใน ตัวอย่างยากลุ่มอะมีโนไกลโคไซด์ เช่น เจนตามัยซิน (Genta mycin) โทบรามัยซิน (Tobramycin) อะมิคาซิน (Amikacin) สเตรปโตมัยซิน (Streptomycin) สเปคทิโนมัยซิน (Spectinomycin) กานามัยซิน (Kanamycin) และ นีโอมัยซิน (Neomycin)

ค. เซฟาโลสปอริน (Cephalosporin) จัดเป็นกลุ่มยาปฏิชีวนะที่ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรียได้หลายชนิด เช่น ชนิดก่อการอักเสบของทางเดินหายใจ และของทางเดินอา หาร ยากลุ่มนี้ไม่ทนกรดเช่นเดียวกับกลุ่มเพนิซิลลิน (Penicillin) และดูดซึมในทางเดินอาหารได้ไม่ดี จึงต้องใช้การฉีดเข้ากล้ามหรือเข้าหลอดเลือด แต่ก็พบว่ายาเซฟาโลสปอรินบางตัวมีคุณสมบัติทนกรดได้ดี ทั้งยังสามารถให้ยาโดยการรับประทานได้

ง. แมคโครไลด์ (Macrolide) จัดเป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้แพร่หลายอีกกลุ่มหนึ่ง สา มารถยับยั้งเชื้อแบคทีเรียโดยการก่อกวนที่สารพันธุกรรม หรือที่เรียกว่า อาร์เอนเอ (RNA) ตัว อย่างยากลุ่มแมคโครไลด์ เช่น อีรีโทรมัยซิน (Erythromycin) อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) คลาริโธรมัยซิน (Clarithromycin) และรอซิโทรมัยซิน (Roxithromycin) ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการดำรงชีวิตได้ มักใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อจากแบคทีเรียในทางเดินหายใจส่วนบนและส่วนล่าง

จ. เตตราไซคลีน (Tetracyclines) ใช้รักษาการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะและการติดเชื้อในลำไส้ รักษาหลอดลมอักเสบ แผล ฝี หนอง มีกลไกการออกฤทธิ์โดยก่อกวนการทำ งานของสารพันธุกรรม หรือ อาร์ เอน เอ ของเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เชื้อไม่สามารถสังเคราะห์โปร ตีนได้ และทำให้เชื้อหยุดการเจริญเติบโต ห้ามใช้ยาในเด็กอ่อนและหญิงมีครรภ์ เพราะอาจส่ง ผลถึงการเจริญเติบโตของกระดูกของเด็กและของทารกในครรภ์ได้ หากใช้ร่วมกับยาเม็ดคุมกำ เนิด จะลดประสิทธิภาพในการคุมกำเนิด จึงอาจตั้งท้องได้ ห้ามใช้ร่วมกับยาลดกรด และ/หรือ ยากลุ่มวิตามินที่มีเหล็กเป็นส่วนประกอบ เพราะจะลดการดูดซึมยาเตตราไซคลีนได้

ข้อควรระวังของยากลุ่มเตตราไซคลีน มีดังนี้

ตัวอย่างยากลุ่มเตตราไซคลีน เช่น เตตราไซคลีน ดอกซีไซคลีน (Doxycycline) และ ออกซีเตตราไซคลีน (Oxytetracycline)

ฉ. ควิโนโลน (Quinolones) ใช้รักษาการติดเชื้อแบคทีเรียในระบบทางเดินปัสสาวะ ทางไต และต่อมลูกหมาก แต่ไม่ค่อยนำไปใช้รักษาการติดเชื้อในโพรงไซนัส(Sinusitis/ไซนูไซติส/ไซนัสอักเสบ) ยากลุ่มนี้ออกฤทธิ์โดยรบกวนการสร้างโปรตีนในสารพันธุ กรรมของเชื้อแบคทีเรียที่เรียกว่า ดีเอนเอ (DNA)

ข้อควรระวังและห้ามใช้ยากลุ่มควิโนโลน คือ ในผู้ที่เป็นโรคลมชักเพราะอาจกระตุ้นสมองเป็นสาเหตุให้ชักได้บ่อยขึ้น ตัวอย่างยากลุ่มควิโนโลน เช่น ไซโปรฟลอซาซิน หรือ ซิโปรฟลอซาซิน (Ciprofloxacin) เลโวฟลอซาซิน (Levofloxacin) นอร์ฟลอซาซิน (Norfloxacin) และ โอฟลอซาซิ น(Ofloxacin)

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  61,987
Today:  3
PageView/Month:  172

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com